Thursday, 21 September 2023

ขอชื่นชมช่างภาพระดับโลกใช้เวลา 20 ปี ปลูกป่าที่บราซิล 2 ล้านต้น

ในแต่ละปี ป่าไม้ถู กทำล ายพื้นที่เท่ากับประเทศประเทศหนึ่ง ซึ่งนับว่าไม่น้อยทีเดียว แต่ก็ยังมีคนที่ทำให้เห็นว่า เราสามารถฟื้นฟูพื้นที่ป่าได้ ด้วยการปลูกต้นไม้จำนวนนับล้านต้นได้ในเวลา 20 ปี! เขาคือช่างภาพระดับโลกสัญชาติบราซิล ที่มีชื่อว่า เซบาสเทียว ซาลกาโด(Sebastião Salgado) กรณีไ ฟป่าออสเตรเลียที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 2019 ต่อเนื่องมาถึงช่วงต้นปี 2020 หากนับพื้นที่ป่าที่ถู กเผ าไหม้ 186,000 ตารางกิโลเมตร จะกินพื้นที่เสี ยหายมากกว่าพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งภาคของไทย (168,854 ตารางกิโลเมตร) เสี ยอีก

ข้อมูลจาก องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ระบุว่า ตั้งแต่ปี 1990-2019 พื้นที่ป่าจำนวน 1.29 ล้านตารางกิโลเมตร ซึ่งมีขนาดเกือบเท่าประเทศแอฟริกาใต้ (1.22 ล้านตารางกิโลเมตร) ถู กทำล ายจากการตั ดไม้ทำล ายป่ามาตั้งแต่ปี 1990 ซึ่งหากคำนวณคร่าว ๆ ตลอด 30 ปีที่ผ่านมา แต่ละปีจะมีพื้นที่ป่าถู กทำล ายขนาดเท่า ๆ ประเทศปานามา (75,417 ตารางกิโลเมตร) เลยทีเดียว

ขณะที่นโยบายหลักของแต่ละประเทศเน้นไปที่การเติบโตทางเศรษฐกิจ เน้นการผลิต อันเป็นที่มาหนึ่งของการทำล ายป่า หากความหวั งไม่ได้อยู่ที่แนวทางด้านสิ่งแวดล้อมของรัฐบาลในแต่ละประเทศ คำถามคือ คนธรรมดาคนหนึ่งสามารถทำให้เกิดแรงกระเพื่อมทางสังคม เป็นแรงบันดาลใจทำให้เราอยากจะอนุรักษ์และพัฒนาผืนป่าได้ไหม? คำตอบของ เซบาสเทียว ซาลกาโด และภรรยาของเขา-ไลเลีย วานิค ซาลกาโด(Lélia Wanick Salgado) คงจะตอบเหมือนกันว่า…ทำได้สิ ความคิดในการดูแลผืนป่าของสองสามีภรรยา ต้องย้อนไปไกลถึงชีวิตของเซบาสเทียว ตั้งแต่สมัยเด็ก ๆ ที่โตอยู่ในป่าของประเทศบราซิล

เซบาสเทียว เกิดในปี 1944 ที่ไอมอเรส (Aimorés) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของบราซิล บ้านของเขาเป็นท้องไร่ท้องนาที่ล้อมรอบไปด้วยป่าด งดิ บ เซบาสเทียวเติบโตมากับการเลี้ยงสั ตว์ ปลูกพืชผัก และรับประทานอาหารจากผลผลิตที่ครอบครัวเขาผลิตเอง จนเมื่อเป็นวัยรุ่น เซบาสเทียวได้ออกสู่โลกภายนอกครั้งแรกด้วยการไปเรียนระดับมัธยมศึกษา แล้วมาเรียนคณะเศรษฐศาสตร์ต่อที่มหาวิทยาลัยในเมือง ก่อนที่จะกลายเป็นช่างภาพที่มีชื่อเสียง ในช่วงเวลานั้น ชีวิตของชายหนุ่มไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับการถ่ายภาพเลย แต่เป็นช่วงที่อุดมการณ์ทางการเมืองในแบบ “ซ้าย” ของเขากำลังคุ กรุ่น ในยุคที่ประเทศบราซิลยังปกครองด้วยรั ฐบ าลเผด็ จก าร

เซบาสเทียวมีทางเลือกสองทาง นั่นก็คือ เข้าร่วมกับกองกำลังติ ดอาวุ ธ หรือห นีไปจากประเทศนี้เสี ย โชคดีที่เด็กหนุ่มเลือกทางเดินอย่างหลัง เราจึงได้เห็นเขาเป็นช่างภาพในเวลาต่อมา ในเวลานั้นเอง เซบาสเทียวและไลเลีย เลือกที่จะเดินทางมาที่เมืองอันแสนจะรุ่ มร วยทางวัฒนธรรมอย่างกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส แต่เขาก็ยังไม่ได้เลือกที่จะเดินทางในสายช่างภาพ เซบาสเทียวเลือกเรียนปริญญาเอกด้านเศรษฐศาสตร์จนจบ แล้วเริ่มออกเดินทางไปทำงานเกี่ยวกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจในหลายพื้นที่บนโลก โดยเฉพาะที่ทวีปแอฟริกา

การเดินทางบ่อยครั้งนั่นเอง ทำให้เซบาสเทียวมีโอกาสได้ใช้กล้องบันทึกภาพผู้คนและสังคมที่เขาพานพบ นั่นเองทำให้เขาเริ่มจุดประกายในใจว่า จริง ๆ ชีวิตของเขาอาจจะเหมาะกับการเป็นช่างภาพมากกว่า เซบาสเทียวเลือกไม่ผิด สิ่งที่ค่อย ๆ สะสมเป็นตัวเขาเอง ทำให้เขากลายเป็นช่างภาพที่มี “ลายเซ็น” เฉพาะตัว

เซบาสเทียวเคยพูดบนเวที Ted Talk เมื่อปี 2013 ว่า มีคนมองว่าเขาเป็นช่างภาพเชิงข่าว เขาเป็นช่างภาพที่เป็นนักเคลื่อนไหวสังคม บางคนก็ว่าเขาเป็นช่างภาพที่มีความเป็นนักมนุษยวิทยา แต่เขาบอกว่า เขาเป็นช่างภาพที่มีมากกว่านั้น ซึ่งหากพิจารณางานของเซบาสเทียวแล้ว เราจะเห็นความมีเสน่ห์ มีมนต์ขลัง ทรงพลั ง และไ ร้กาลเวลา อย่างเช่น ภาพคนจำนวนหลายร้อยคนทำงานในเหมืองแร่ทองคำที่ Serra Pelada ที่บราซิล ที่อารมณ์ของภาพถู กชวนให้ตีความอย่างหลากหลาย ทั้งชวนให้นึกถึงภาพของอารยธรรมโบราณ ไปไกลจนถึงการจินตนาการว่าเป็นภาพน ร ก แม้ว่าภาพนี้จะถูกถ่ายมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980s หรือเมื่อ 30 ปีที่แล้วก็ตาม (งานชุดนี้เคยจัดแสดงที่ประเทศไทยเมื่อปี 2017 จัดโดยสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์)

ภาพถ่ายอีกชุดหนึ่งที่กระท บความรู้สึกของผู้ชมและตัวเซบาสเทียวเอง ก็คือ ภาพที่เขาถ่ายบันทึกเห ตุก ารณ์ที่ผู้คนอ พ ย พ ห นี ก ารฆ่ าล้ างเผ่ าพั นธุ์ที่ รวันดาในปี 1994 ซึ่งทำให้มีค นต า ย ร่ วมล้านคน การทำงานที่รวันดาในครั้งนั้น คือจุดเปลี่ยนที่ทำให้เซบาสเทียวอยากกลับบราซิลบ้านเกิด เพื่อปลูกป่า พาจิตวิญญาณกลับบ้านมาปลูกป่า

งานถ่ายภาพที่เจาะลึกถึงเห ตุการณ์ต่าง ๆ ทำให้เขาเหนื่ อยกับการเห็ นคนต า ย เห็นความสู ญเสี ยจำนวนมากมาย ความรู้สึกนี้กระท บต่ อจิ ตใจของเขาแล้วล ามมาสู่ร่างกาย เหมือนกับว่าเขาป่ วย ไ ข้ แต่หาสาเห ตุไม่พบ เพราะมันเกิดจากหัวใจที่อ่อนล้าของเขาเอง จากนั้นเขาจึงเดินทางไปค้นหาคำตอบบางอย่างที่บ้านเกิดของเขาเอง…

สิ่งที่เขาเห็นที่บ้านเกิดในบราซิล ช่างต่างจากอดีตที่เขาเติบโตมา ขณะที่ประเทศบราซิลพัฒนาจนถึงขีดสุ ด แต่ป่าไม้ในประเทศถู กทำล ายไปจำนวนมากมาย บ้านเกิดของเซบาสเทียวก็เช่นเดียวกัน อดีตเต็มไปด้วยป่าด งดิ บ ปัจจุบันเหลือแต่เขาหัวโล้ น แต่ท่ามกลางความสิ้ นหวั งในการฟื้นฟูพื้นที่ป่า เขากับไลเลียกลับมีความเชื่ออย่างแรงกล้าว่าจะสามารถฟื้นฟูป่านี้ให้กลับมาสมบูรณ์อย่างที่เคยเป็นได้

“แผ่นดินนี้กำลังป่ วยเหมือนที่ผมเคยเป็น ทุ กสิ่งทุ กอย่างถู กทำล าย” เซบาสเทียวให้สัมภาษณ์กับ The Guardian เมื่อปี 2015 “มีเพียงแค่ 0.5% ของแผ่นดินเท่านั้นที่มีต้นไม้ปกคลุม ดังนั้นภรรยาของผมจึงมีความคิดอันเหลือเชื่อในการปลูกป่าขึ้นมาใหม่ และเมื่อพวกเราลงมือปลูกป่ากัน แมลง นก และปลา ทั้งหมดก็กลับคืนมาขอบคุณที่ต้นไม้ในที่ที่ผมเกิดมามันเพิ่มขึ้น นี่เป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุด” ในปี 1998 เซบาสเทียวและไลเลียก่อตั้งองค์กร Instituto Terra ขึ้น องค์กรนี้ปลูกต้นกล้านับล้านต้นเพื่อไปปลูก และนำผืนป่ากลับคืนมาจ ากคว า มต า ย

ผ่านไป 20 กว่าปี องค์กรของเขาปลูกต้นไม้ไปร่วม 2 ล้านต้น สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ก็คือ สัตว์ป่ากลับคืนสู่ป่า เราได้ยินเสียงนกร้องทั่วป่า มีการสำรวจป่า พบว่าทุ กสิ่งทุ กอย่างกลับคืนมา พบนก 172 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 33 ชนิด สัตว์เลื้ อยคล าน 15 ชนิด สัตว์ครึ่งบ กครึ่งน้ำ 15 ชนิด และต้นไม้ 293 ชนิด ระบบนิเวศเริ่มกลับคืนมาเรื่อย ๆ จากเขาหัวโล้ น สู่พื้นที่ป่าที่สมบูรณ์ใน 20 ปี โครงการนี้เป็นแรงบันดาลใจให้กับคนจำนวนมาก เป็นตัวอย่างเชิงรูปธรรมที่แสดงให้เห็นว่า ทัศนคติที่ถูกต้องทำให้สภาพแวดล้อมที่ดีกลับคืนมาอย่างรวดเร็วได้อย่างไร

วันนี้ เซบาสเทียว ซาลกาโด อายุ 75 ปี และ ไลเลีย วานิค ซาลกาโด อายุ 72 ปี แน่นอนว่า นอกจากที่เขาจะรั กษาจิตวิญญ าณที่เข้มแข็งให้กลับคืนมาจากการปลูกป่าแล้ว สิ่งดี ๆ ที่เขาทั้งสองทำให้กับโลกในรอบสองทศวรรษที่ผ่านมา สำหรับคนรุ่นหลัง คงไม่มีอะไรเกินเลยหากจะกล่าวคำว่า “ขอบคุณ” ให้กับคุณปู่คุณย่าทั้งสองท่านนี้

คู่รักใน​บราซิล​ปลูก​ต้นไม้ ​2 ​ล้าน​ ในช่วงเวลาเกือบ20ปี​ เพื่อสร้างป่าไม้​ เพื่อ​เป็น​แรง​บันดาลใจ​ให้ทุ กคนปลูกต้นไม้ปกป้อง​สิ่งแวดล้อม​และผลิตอาหารได้มากขึ้น

ขอบคุณข้อมูล : boredpanda.com

Facebook Comments