10 จุดอ่อนของคนไทย ที่ควรแก้ไข โดยคุณคุณวิกรม กรมดิษฐ์ เจ้าของโครงการนิคมอุตสาหกรรม 3 แห่งในประเทศไทยได้สะท้อนมุมมองและแนวคิดเกี่ยวกับจุดอ่อนคนไทย 10 ข้อ ที่เราคนไทยควรรู้และรับทราบ เพราะที่กล่าวมาทุกข้อแทบปฏิเสธไม่ได้เลย โปรดอ่านแล้วพิจารณาอย่างปราศจากอคติ เพราะนี่คือกระจกบานใหญ่ที่สะท้อนตัวตนของเรา
1 คนไทยรู้จักหน้าที่ของตัวเองน้อยมาก โดยเฉพาะหน้าที่ต่อสังคม เป็นประเภท มือใครยาวสาวได้สาวเอา เกิดธุรกิจการเมืองธุรกิจราชการ ธุรกิจการศึกษา ทำให้ประเทศชาติ ล้าหลังไปเรื่อย
2 การศึกษายังไม่ทันสมัย คนไทยเก่งแต่ภาษาของตัวเอง ทำให้ขาดโอกาสในการแข่งขันกับต่างชาติในเวทีต่าง ๆ ไม่กล้าแสดงออก ขี้อายไม่มั่นใจในตัวเอง จึงตามหลังชาติอื่น คนมีฐานะจะส่งลูกไปเรียนเมืองนอก เพื่อโอกาสที่ดีกว่า
3 มองอนาคตไม่เป็น คนไทยมากกว่า 70 เปอร์เซ็น ทำงานแบบวันต่อวัน แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปวันๆ น้อยคนนักที่จะทำงานเป็นระบบเป็นขั้นเป็นตอนมีเป้าหมายในอนาคตที่ชัดเจน
4 ไม่จริงจังในความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ทำแบบผักชีโรยหน้าหรือทำด้วยความเกรงใจ ต่างกับคนญี่ปุ่นหรือยุโรปที่จะให้ความสำคัญกับสัญญาข้อตกลงอย่างเคร่งครัด เพราะหมายถึงความเชื่อถือในระยะย าว คนไทยจึงถูกลดเครดิตความน่าเชื่อถือลงเรื่อย ๆ
5 การกระจายความเจริญยังไม่เต็มที่ ประชากรประมาณ 60 ถึง 70 เปอร์เซ็น ที่อยู่ห่างไกลจะขาดโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตัวเอง และชุมชนซึ่งเป็นหน้าที่ของภาครัฐที่ต้องส่งเสริม
6 การบังคับกฎหมายไม่เข้มแข็ง และไม่ต่อเนื่อง ทำง านแบบลูบหน้าปะจมูก ปราบปรามไม่จริงจัง การดำเนินการตามกฎหมายกับผู้มีอำนาจหรือบริวารจะทำแบบเอาตัวรอดไปก่อนไม่มีมาตรฐาน
7 อิจฉาตาร้อน สังคมไทยไม่ค่อยเป็นสุภาพบุรุษ เลี่ยงเป็นศรีธนญชัย ยกย่องคนมีอำนาจ มีเงินโดยไม่สนใจภูมิหลัง โดยเฉพาะคนที่ล้มบนฟูกแล้วไปเกาะผู้มีอำนาจเอาตัวรอด คนพวกนี้ร้ ายยิ่งกว่าผู้ก่อการร้ าย ดีแต่พูดมือไม่พายเอาเท้ารานํ้า ทำให้คนดีไม่กล้าเข้ามาเพราะกลัวเปลืองตัว
8 เอ็นจีโอค้านลูกเดียว บางกลุ่มอิงอยู่กับผลประโยชน์บ่อยครั้งที่ต้องเสียโอกาสอย่างมหาศาล เพราะการค้านหัวชนฝา เหตุผลจริง ๆ ไม่ได้พูดกัน
9 ยังไม่พร้อมในเวทีโลก การสร้างความน่าเชื่อถือ ในเวทีการค้าระดับโลกยังขาดทักษะและทีมเวิร์คที่ดี
10 เลี้ยงลูกไม่เป็น เด็กไทยขาดความอดทน ไม่มีภูมิคุ้มกันเป็นทางจิตใจ ไม่เข้มแข็งเพราะการเลี้ยงลูกแบบไข่ในหิน ไม่สอนให้ลูกช่วยตัวเอง ไม่กระตือรือร้นในการช่วยตนเองขวนขวายแสวงหา ค้นหาตัวเองและไม่สอนให้สำนึกรับผิดชอบต่อสังคม เจ็บปวดจริง ๆ แต่มันคือเรื่องจริงที่เถียงไม่ออก เห็นทีไทยเราจะต้องปรับตัวอย่างหนัก เริ่มตั้งแต่ในครอบครัว สังคม ตลอดจนหน่วยงานภาคธุรกิจ และภาครัฐบาลต้องร่วมกันตระหนักและหาทางแก้ไขอย่างจริงจัง
อ่านจนครบ 10 ข้อ เป็นอย่างไรบ้าง มันคือเรื่องจริงที่เถียงไม่ออก เห็นทีคนไทยของเราต้องมีการปรับตัวกันอย่างหนักกันเลยทีเดียวเริ่มตั้งแต่ในครอบครัว สังคม ตลอดจนหน่วยงานภาคธุรกิจและภาครัฐต้องร่วมกันตระหนักและหาทางแก้ไขอย่างจริงจัง
เรามาทำความรู้จักประวัติโดยย่อ คุณวิกรม กรมดิษฐ์ เกิดเมื่อวันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2496 เวลา 24.00 น. ที่ตลาดท่าเรือจังหวัดกาญจนบุรี บรรพบุรุษสืบเชื้อสายมาจากชาวจีนแคะ หรือฮากก้า ซึ่งอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในชุมชนท่าเรือเมื่อ 150 กว่าปีมาแล้ว
นอกจากนี้เขายังมีเชื้อสายมอญจากยาย[4] เขาเป็นบุตรชายคนโตของตระกูล มีน้องมารดาเดียวกันและต่างมารดา 23 คน จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน มีความสนใจการค้าตั้งแต่ยังเล็ก โดยรับช่วงต่อกิจการร้านถั่วคั่วจากป้า ขณะเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
จนเมื่อเรียนจบปริญญาตรีกลับมาเปิดบริษัท วี แอนด์ เค คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นธุรกิจนำเข้า – ส่งออก เมื่อปี พ.ศ. 2518 ต่อมาหันมาบุกเบิกธุรกิจด้านนิคมอุตสาหกรรม 3 แห่งของประเทศไทยและ 2 แห่งในประเทศเวียดนาม มูลค่าการลงทุนกว่า 7 แสนล้านบาท มีพนักงาน 200,000 คน และโรงงานกว่า 850 โรง
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) และประธานมูลนิธิอมตะ ตลอดจนสนใจการเขียนหนังสือเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ชีวิตให้ประโยชน์แก่อนุชนรุ่นหลัง
ในปี 2549 ถึง 2551 ได้รับการจัดอันดับจากนิตยสารฟอร์บส์ให้ติดอันดับ 40 มหาเศรษฐีในเมืองไทย และในปี 2551 Foreign Direct Investment magazine (fDi) ในเครือของFinancial Times Group จากลอนดอน ได้มอบรางวัล fDi Personality of the Year 2008-Asia ปัจจุบันใช้ชีวิตอยู่ในต่างจังหวัด
คุณวิกรม กรมดิษฐ์ เคยดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในปี พ.ศ. 2535 ถึงปี พ.ศ. 2536 และที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในปี พ.ศ. 2536 ถึงปี พ.ศ. 2538 ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย